สมาคมผู้เลี้ยงสุกรภาคเหนือแฉ ขบวนการปั่นราคาหมู ทำการปล่อยข่าวลวง ซ้ำเติมเกษตรกรผู้เลี้ยง ย้ำหนุนรัฐลดค่าครองชีพประชาชนต่อเนื่อง ขบวนการปั่นราคาหมู (6 พ.ค. 2565) – นายสุนทราภรณ์ สิงห์รีวงศ์ นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรภาคเหนือ เปิดเผยว่า ขณะนี้มีขบวนการปั่นราคาหมู และให้ข้อมูลข่าวสารด้านเดียวว่าราคาเนื้อหมูหน้าเขียงมีราคาสูงถึง 250 บาทต่อกิโลกรัม เพื่อหวังให้เกิดกระแสสังคมและใช้หลักจิตวิทยา มากดดันให้เกษตรกรผู้เลี้ยงขายหมูมีชีวิตในราคาต่ำกว่าราคาประกาศของสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ
รวมทั้งอาจมีวัตถุประสงค์แอบแฝงอื่น
อาทิ การหากำไรกับส่วนต่าง หรือเพื่อชี้เป้าให้พาณิชย์จังหวัดออกมาดูแลราคาหมูหน้าฟาร์ม ทั้งที่ในความเป็นจริงนั้นราคาจำหน่ายไม่ได้สูงดังที่กล่าว ยกตัวอย่างในพื้นที่ภาคเหนือที่ขาดแคลนเนื้อหมูอย่างรุนแรง ราคาจำหน่ายเนื้อหมูในช้อปหรือร้านค้าจำหน่ายทั่วไปยังอยู่ที่กิโลกรัมละ 160 กว่าบาทเท่านั้น ที่สำคัญเกษตรกรยังคงแบกรับภาระต้นทุนที่สูงกว่า 98.81 บาทต่อกิโลกรัม
ขณะที่ราคาขายเพิ่งจะแตะ 98-100 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งเป็นราคาที่สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง จากผลพวกของปัญหาโรค ASF ในหมู และภาวะต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้นทุกด้าน รวมแล้วปรับขึ้นกว่า 30-40% ทั้งค่าการจัดการป้องกันโรคที่เข้มงวด ค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำมันที่ปรับเพิ่มขึ้น และอากาศแปรปรวนที่ส่งผลให้อัตราหมูเสียหายเพิ่มขึ้น ซึ่งล้วนแล้วแต่กระทบกับการผลิตหมูทั้งสิ้น
นายสุนทราภรณ์ กล่าวว่า “ในขณะที่เกษตรกรยังต้องรับภาระขาดทุน และอยู่ในช่วงที่ยากลำบากที่สุดในอาชีพ กลับมีขบวนการปั่นราคารอล่วงหน้า ขบวนการนี้ได้ให้ข้อมูลและปั่นกระแสไว้ก่อนหน้าแล้ว ว่าราคาหมูหน้าเขียงขึ้นไป 250 บาท ทั้งๆที่ราคาหมูมีชีวิตหน้าฟาร์มเพิ่งจะพ้นต้นทุนมาไม่กี่วัน และภาคผู้เลี้ยงทั่วประเทศยังคงให้ความร่วมมือกับกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ในการดูแลค่าครองชีพให้กับพี่น้องประชาชน ด้วยการร่วมกันจัดจำหน่ายหมูเนื้อแดงในห้างโมเดิร์นเทรด จัดรายการอยู่ที่ราคา 150-160 บาทต่อกิโลกรัม เพื่อเป็นทางเลือกแก่ผู้บริโภค ส่วนในช้อปจำหน่ายหมูและตลาดสดราคาอยู่ที่ 170-190 บาทต่อกิโลกรัม แตกต่างกันไปตามแต่อุปสงค์-อุปทานของแต่ละพื้นที่ ซึ่งถือว่าเป็นราคาที่สมเหตุสมผลกับทุกฝ่าย ทั้งผู้เลี้ยง ผู้ขายหน้าเขียง และผู้บริโภค แม้ว่าเกษตรกรทุกคนจะมีค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงที่สูงมากขึ้นจากหลากหลายปัจจัย แต่ก็ยังคงช่วยกันประคับประคองไม่ให้กระทบกับผู้บริโภค ขอให้ประชาชนและภาครัฐเข้าใจ ขอให้กลไกตลาดทำงาน และเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาราคาดังเช่นที่ผ่านมา”
นายยกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรภาคเหนือ กล่าวย้ำว่า ปัจจุบันอุตสาหกรรมการเลี้ยงหมูของไทย ยังคงมีผู้เลี้ยงที่หลากหลาย ประกอบไปด้วยเกษตรกรรายเล็ก รายกลาง และรายใหญ่ รวมแล้วกว่าแสนรายที่ร่วมกันรักษาอาชีพเลี้ยงหมูเอาไว้ ส่วนการปรับราคาสินค้าเป็นไปตามกลไกตลาด และสะท้อนต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น ไม่ได้ทำตามอำเภอใจ หรือกำหนดโดยใครได้
วันนี้เกษตรกรเพียงแค่พออยู่ได้บ้าง ที่สำคัญปริมาณหมูที่มีไม่มากจากที่หายไปกว่า 50% เนื่องจากผลกระทบของ ASF ก็ล้วนอยู่ในมือเกษตรกรทั้งสิ้น ตอนนี้สิ่งที่ต้องเร่งดำเนินการคือการเพิ่มปริมาณผลผลิตโดยเร็วที่สุด หลายฟาร์มใช้วิธีนำหมูขุนตัวเมียมาเป็นแม่พันธุ์ แม้จะรู้ว่าประสิทธิภาพการผลิตที่ไม่ดี จำนวนลูกแรกคลอดน้อยกว่ามาตรฐาน แต่ก็ยังดีกว่าไม่มีลูกหมูเข้าเลี้ยง
ทั้งหมดนี้คือต้นทุนที่เพิ่มขึ้นของเกษตรกร เมื่อปริมาณหมูไม่เพียงพอกับการบริโภค ราคาจึงปรับตามกลไกตลาด แต่เมื่ออุปสงค์สมดุลกับอุปทาน ราคาก็จะปรับตัวได้เอง โดยไม่ต้องมีการควบคุมราคา หรือใช้วิธีนำเข้าหมูมาบิดเบือนตลาดแต่อย่างใด
Sell in May คืออะไร? ทำไมถึงต้องขายในเดือน พ.ค.
เข้าสู่ช่วงเดือนพฤษภาคมแล้วนั้น ก็ได้มีปรากฏการณ์ที่น่าสนใจอย่างเช่น Sell in May and Go Away ที่ถือว่าเป็นแนวทางการลงทุนที่น่าสนใจอย่างยิ่ง ในวันนี้ (6 พ.ค. 2565) ทาง The Thaiger จะพาไปดูกันกับถ้อยคำที่ว่า Sell in May and Go Away ปรากฏการณ์แนวทางด้านการลงทุนที่มีการพูดอยู่เรื่อย ๆ เมื่อเข้าถึงช่วงเดือนพฤษภาคม ว่าถ้อยคำที่ว่านี้ มีความหมายว่าอย่างไร และมันมีเหตุผลอะไรที่จะต้องทำการปล่อยขายภายในเดือนนี้กัน
โดยถ้อยคำที่ว่านี้ก็คือ กลยุทธ์ในการลงทุนของหุ้นที่มีฐานมาจากทฤษฏี (ที่บางครั้งรู้จักในนามว่า ตัวบ่งชี้ฮาโลวีน) ที่ว่า ช่วงตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนไปจนถึงเมษายนนั้นตลาดหุ้นจะมีการเติบโตไปเป็นอย่างดีมากกว่าช่วงเดือนอื่น ๆ ทำให้หุ้นนั้น มันจะมีการปล่อยขายภายในช่วงเดือนพฤษภาคม เพื่อที่จะเปลี่ยนให้เป็นเงินสด และหุ้นต่าง ๆ จะถูกซื้อขายกันอีกครั้งในช่วงฤดูใบไม้ร่วง โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงเทศกาลฮาโลวีน ซึ่งก็สามารถเรียกอีกนัยหนึ่งว่า เป็นความเชื่อในการเลี่ยงถือครองหุ้นในช่วงฤดูร้อน
ในส่วนของคำถามที่ว่าทำถึงมีการปล่อยขายนั้น ก็อาจจะเพราะจากข้อมูลที่มีการรวบรวมกันมาในหลายประเทศได้แสดงให้เห็นว่าในช่วงตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงตุลาคม ผลตอบแทนของตลาดหุ้นจะเป็นในทางติดลบ หรือต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น ทำให้ผู้คนเลือกที่จะทำการเทขาย หรือถือหุ้นในปริมาณที่ต่ำที่สุดแทนที่จะถือไว้แล้วได้ผลตอบแทนที่ต่ำ
ซึ่งปรากฏการณ์ดังกล่าวนั้น ก็ได้เกิดขึ้นมาแล้วในประเทศต่าง ๆ เป็นจำนวน 36 จาก 37 ประเทศ (จากการวิเคราะห์/สำรวจโดย Bouman and Jacobsen – 2002) แต่กระนั้น ก็ยังไม่มีการอธิบายในเชิงวิชาการที่ชัดเจน และมักจะถูกปฏิเสธจากทางสื่อมวลชนส่วนใหญ่ว่าปรากฏการณ์ที่ว่านี้ไม่มีอยู่จริง
ไม่ว่ามันจะมีผลแบบจริงจัง หรือว่าจะเป็นไปแบบทั่วโลกหรือไม่นั้น กระแสเทขายเพราะความเชื่อก็เป็นอะไรที่ต้องระวังกันให้ดี สำหรับบรรดานักลงทุนต่าง ๆ ที่ถือหุ้นของตัวเองกันอยู่ในเวลานี้
Credit : แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว | แต่งบ้านและสวน | พระเครื่อง | รีวิวกล้องถ่ายรูป